เลนส์ชั้นเดียว
(Single Vision Lens)
เป็นเลนส์ที่มีค่าสายตาเพียงค่าเดียวบนเลนส์ทั้งชิ้น การออกแบบเลนส์มีการออกแบบ เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆดังนี้
1. ออกแบบโดยใช้ค่าตัวแปรของกรอบแว่นตา (Individual Parameter)
PD - Pupil Distance ระยะห่างรูม่านตาทั้งสองข้าง
CVD – Cornea Vertex Distance ระยะห่างระหว่างแว่นตาถึงกระจกตา
FFA - Face Form Angle ความโค้งหน้าแว่น
PT - Pantoscopic Tilt มุมเทหน้าแว่น
2. ออกแบบโดยไม่ได้พิจารณาค่าตัวแปรของกรอบแว่นตา
ดังนั้นเลนส์ชนิดนี้จะมีระยะเวลาในการประกอบแว่นตาเร็วกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ แต่จะมีข้อจำกัด
หากลักษณะแว่นตา มีความโค้ง หรือมุมเทมีค่ามากกว่าปกติ อาจทำให้ผู้สวมใส่แว่นตารู้สึกไม่สบายตาเวลาสวมใส่
หรืออาจปรับตัวได้ยากกว่าปกติ
เลนส์เฉพาะทางกลาง-ใกล้
(Near Vision Lens)
เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานของกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เน้นการทำงานระยะกลางจนถึงใกล้ โดยเลนส์จะมีค่ากำลังเป็นค่าถดถอย โดยเป็นการลดกำลังเลนส์จากมากไปหาน้อย (Degression) เลนส์เฉพาะทางกลาง-ใกล้มีตัวแปรในการออกแบบเพื่อให้ตอบสนองความต้องการการใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกัน ตัวแปรที่ใช้ในการออกแบบมีดังนี้
1. ค่าตัวแปรของกรอบแว่นตา (Individual Parameter)
PD - Pupil Distance ระยะห่างรูม่านตาทั้งสองข้าง
CVD - Cornea Vertex Distance ระยะห่างระหว่างแว่นตาถึงกระจกตา
FFA - Face Form Angle ความโค้งหน้าแว่น
PT - Pantoscopic Tilt มุมเทหน้าแว่น
2. การออกแบบตามความกว้างของมุมมองในแต่ละระยะ และการลดกำลังเลนส์ (Degression)ซึ่งจำแนกออกเป็นกลุ่มดังนี้
2.1 Book สำหรับลักษณะการใช้งานในระยะใกล้เป็นหลัก เช่น การอ่านหนังสือ การดูมือถือ
2.2 PC สำหรับลักษณะการใช้งานในระยะกลางเป็นหลัก เช่น การทำงานบนจอคอมพิวเตอร์
2.3 Room สำหรับลักษณะการใช้งานในร ะยะ 2.50 เมตร เช่น การดูทีวี การทำกิจกรรมในบ้าน
หมายเหตุ ค่า Degression จะเป็นตัวกำหนดว่าเมื่อเรามองตรงหน้าเราจะเห็นชัดที่ระยะกี่เซนติเมตร ดังนั้นเมื่อกำลังเลนส์ในการอ่านหนังสือของแต่ละคนไม่เท่ากัน ระยะชัดตรงหน้าที่ต้อ งการไม่เท่ากัน ค่า Degression จึงจำเป็นต้องแปรผันได้เพื่อให้สามารถออกแบบเลนส์ได้ตรงตามความต้องการของแต่ละบุคคล
เลนส์โปรเกรสซีฟเต็มระยะ
(Progressive Lens)
เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดทุกระยะ ตั้งแต่ไกลจนถึงใกล้ โดยการเพิ่มกำลังของเลนส์ทีละน้อย จากบนลงล่าง (Progression) เลนส์โปรเกรสซีฟเต็มระยะ มีตัวแปรในการออกแบบเพื่อให้ตอบสนองความต้องการการใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกัน ตัวแปรที่ใช้ในการออกแบบมีดังนี้
1. ออกแบบโดยใช้ค่าตัวแปรของกรอบแว่นตา (Individual Parameter)
PD - Pupil Distance ระยะห่างรูม่านตาทั้งสองข้าง
CVD – Cornea Vertex Distance ระยะห่างระหว่างแว่นตาถึงกระจกตา
FFA - Face Form Angle ความโค้งหน้าแว่น
PT - Pantoscopic Tilt มุมเทหน้าแว่น
2. การออกแบบตามกิจกรรมหลักของผู้สวมใส่เลนส์โปรเกรสซีฟเต็มระยะ ซึ่งจำแนกออกเป็นกลุ่มดังนี้
2.1 ออกแบบเพื่อผู้ใช้งานในกิจกรรมกลางแจ้ง เน้นการมองในระยะไกลและกลางเป็นหลัก ลดความบิดเบือนของภาพเป็นพิเศษ เราเรียกการออกแบบในลักษณะนี้ว่า Active Lens
2.2 ออกแบบเพื่อผู้ใช้งานในสำนักงาน เน้นการอ่านหนังสือหรือใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำงาน เลนส์กลุ่มนี้จะให้ความสำคัญของระยะกลางและใกล้เป็นหลัก เราเรียกการออกแบบในลักษณะนี้ว่า Expert Lens
2.3 ออกแบบเพื่อใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยไม่เน้นระยะใดเป็นพิเศษ เน้นความต่อเนื่องในการมองเห็นทุกระยะ เราเรียกการออกแบบในลักษณะนี้ว่า Allround Lens
2.4 ออกแบบเฉพาะ สำหรับบุคคลโดยปรับแต่งโครงสร้างให้เข้ากับความต้องการในการใช้งานของแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง เราเรียกการออกแบบในลักษณะนี้ว่า Individual Freedesign Lens ซึ่งจะมีการกำหนดค่า Far และ Near desing point